แนวทาง คสช. เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
1. รักษาความสงบเรียบร้อย/ความปลอดภัย
– เตรียมการปฏิรูปในทุก ๆ ด้านให้เกิดผลยั่งยืน
– การก้าวไปสู่การเป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์
2. ปรับปรุง กฎหมาย/ระเบียบ เอื้อต่อการค้าการลงทุน ให้เป็นไปตามหลักสากล ทันสมัย
3. การเร่งฟื้นฟู ในการสร้างความเชื่อมั่น และความเข้าใจอันถูกต้องให้กับต่างชาติ เกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศไทย ทั้งภาครัฐ/ภาคเอกชน ทั้งการค้า และการอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว ฯลฯ
4. ส่งเสริมตลาดในประเทศ/ปรับแผนงานตลาดต่างประเทศ
5. สร้างขีดความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศ เพิ่มเทคโนโลยีการเพิ่มมูลค่าให้กับวัตถุดิบ และทรัพยากรในประเทศ
6. ภาครัฐ สนับสนุนภาคเอกชนให้มากขึ้น ทั้งธุรกิจขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก
7. ควบคุมมาตรฐานในการส่งออก-นำเข้า
8. ส่งเสริมการลงทุนในประเทศ/ต่างประเทศ
9. ขับเคลื่อนประเทศตามอาเซียน/AEC
10. ปรับปรุงระบบการสาธารณูปโภคพื้นฐาน
11. ปรับปรุงการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ
12. ปรับการจัดทำงบประมาณ และการใช้จ่ายงบประมาณ ให้เป็นลักษณะบูรณาการ ทั่วถึง เป็นธรรม
13. เพิ่มยุทธศาสตร์เชิงรุกในทุกภาคส่วน ในการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐ ร่วมกับภาคเอกชน/ประชาสังคม/ประชาชน ต้องเดินไปด้วยกัน
14. กำหนดวิสัยทัศน์ ของประเทศไทยให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ในทุกมิติ และสามารถพึ่งตัวเองได้ โดยเน้นประชาชน ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
15. ดูแลประชาชนผู้มีรายได้น้อย สร้างอาชีพ รายได้ อย่างยั่งยืน
16. เร่งพิจารณาด้านการศึกษา โดยมุ่งเน้น ทั้งประถม มัธยม อุดมศึกษา วิชาชีพ ทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย
17. ลดความเหลื่อมล้ำ ของประชาชนในแต่ละระดับ ทั้งในแง่รายได้ และความเป็นอยู่ โดยพิจารณาหามาตรการ รัฐสวัสดิการเสริม
18. ปรับปรุงการให้บริการ สาธารณสุขขั้นพื้นฐานให้ทั่วถึง
19. ปรับปรุงงานด้านความมั่นคง ให้มีความเข้มแข็ง/ประชาชนมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง
20. ยกระดับความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านในทุกมิติ ในอาเซียนและประชาคมโลกอื่นๆ
21. สร้างความปรองดอง และสร้างความสมานฉันท์ ให้กับคนในชาติอย่างยั่งยืน พร้อมทั้งการปฏิรูปประเทศไทยทุก ๆ ด้าน ในระยะที่ 1/2/3 ตามลำดับ
——————–
You must be logged in to post a comment.