ด้วย เมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๕๗ เวลากลางวัน ผู้ชุมนุมกลุ่ม กปปส. ประมาณ ๒๐๐ คน โดยมีนายแพทย์ ระวี มาศมาดล (ผู้ต้องหาที่ ๑ )และ นายทศพล แก้วธิมา (ผู้ต้องหาที่ ๒) เป็นแกนนำ ได้ใช้รถยนต์บรรทุกของกลางติดเครื่องขยายเสียงดัดแปลงเป็นเวทีปราศรัยโจมตีเกี่ยวกับราคาพลังงาน บริเวณหน้ากระทรวงพลังงาน ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ต่อมาในช่วงเย็นของวันเดียวกันกลุ่มผู้ชุมนุมดังกล่าวได้บุกเข้าไปยึดพื้นที่ภายในของกระทรวงพลังงาน ทำให้เจ้าหน้าที่ของกระทรวงฯ ไม่สามารถเข้าไปปฏิบัติงานได้
และต่อมาเมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๗ เวลาประมาณ ๐๓.๔๐ นาฬิกา กลุ่มผู้ชุมนุมได้ย้ายที่ชุมนุม
มาที่ บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ทำการกีดขวางทางเข้าออกของ บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) ขัดขวางการประกอบกิจการหรือการใช้ชีวิตโดยปกติสุขของเจ้าหน้าที่ ปตท.และของประชาชนโดยทั่วไป โดยกลุ่มผู้ชุมนุมได้คล้องโซ่ปิดประตูทางเข้าออกของบริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) ทำการขัดขวางมิให้เจ้าหน้าที่ของ ปตท. หรือประชาชนโดยทั่วไปเข้าปฏิบัติหน้าที่หรือทำธุรกรรมกับ ปตท.ได้ การกระทำของผู้ชุมนุมกลุ่มดังกล่าวทำให้ ปตท. ได้รับความเสียหาย กลุ่มผู้ชุมนุมได้ใช้เวทีติดตั้งเครื่องขยายเสียงกำลังสูงประกอบการปราศรัยชุมนุมโดยไม่ได้รับอนุญาต และต่อมาได้มีประกาศของศูนย์รักษาความสงบ ฉบับที่ ๓/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๗ ออกตามความในมาตรา ๙ ประกอบมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๔๘ ห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือมั่วสุม ต่อมาวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ เจ้าหน้าที่ตำรวจตามบันทึกจับกุมได้แจ้งให้กลุ่มผู้ชุมนุมออกจากพื้นที่ของสำนักงาน ปตท.(สำนักงานใหญ่)เพื่อให้เกิดความสงบและไม่เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชน แต่กลุ่มผู้ชุมนุมขัดขืนไม่ยอมออกไปจากพื้นที่ของสำนักงาน ปตท.(สำนักงานใหญ่)
การกระทำของ ผู้ต้องหาที่ ๑ ผู้ต้องหาที่ ๒ เป็นความฐาน ร่วมกันเป็นหัวหน้า หรือเป็นผู้มีหน้าที่สั่งการในการกระทำความผิดฐานมั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป กระทำการให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง เมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้ผู้ที่มั่วสุมดังกล่าวให้เลิก แต่กลุ่มผู้ชุมนุมไม่เลิก ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๒๑๕ และมาตรา ๒๑๖ และฐานชุมนุมมั่วสุมกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป ในพื้นที่ที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความรุนแรง อันมีลักษณะกีดขวางทางเข้าออกของอาคารหรือสถานที่อันเป็นการขัดขวางการปฏิบัติงาน หรือการใช้ชีวิตโดยปกติสุขของประชาชนโดยทั่วไป , ขัดขืนคำสั่งของเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สั่งการเกี่ยวกับการชุมนุม เพื่อให้เป็นไปโดยสงบและไม่เกิดความเดือดร้อนต่อประชาชน และใช้เครื่องขยายเสียง หรือใช้เวทีติดตั้งเครื่องขยายเสียง หรือใช้ยานพาหนะติดตั้งเครื่องขยายเสียง โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามประกาศของศูนย์รักษาความสงบ ฉบับที่ ๓ / ๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๗ ข้อ ๑ ( ๒ ) , ( ๔ ) และ ( ๕ ) ออกตามความในมาตรา ๙ ประกอบมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๔๘
ผู้ต้องหาที่ ๓ ถึงที่ ๑๔๔ กระทำความผิดฐานมั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป กระทำการให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง เมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้ผู้ที่มั่วสุมดังกล่าวให้เลิก แต่กลุ่มผู้ชุมนุมไม่เลิก ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๒๑๕ และมาตรา ๒๑๖ และฐานชุมนุมมั่วสุมกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป ในพื้นที่ที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความรุนแรง อันมีลักษณะกีดขวางทางเข้าออกของอาคารหรือสถานที่อันเป็นการขัดขวางการปฏิบัติงาน หรือการใช้ชีวิตโดยปกติสุขของประชาชนโดยทั่วไป , ขัดขืนคำสั่งของเจ้า
พนักงานเจ้าหน้าที่ที่สั่งการเกี่ยวกับการชุมนุม เพื่อให้เป็นไปโดยสงบและไม่เกิดความเดือดร้อนต่อประชาชน และใช้เครื่องขยายเสียงหรือใช้เวทีติดตั้งเครื่องขยายเสียง หรือใช้ยานพาหนะติดตั้งเครื่องขยายเสียง โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามประกาศของศูนย์รักษาความสงบ ฉบับที่ ๓ / ๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๗ ข้อ ๑ ( ๒ ) , ( ๔ ) และ ( ๕ ) ออกตามความในมาตรา ๙ ประกอบมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๔๘
นอกจากนั้นเมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ ได้มีบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ได้มาแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีกับผู้ต้องหาที่ ๑ – ๑๔๔ ในความผิดฐานบุกรุกในเวลากลางคืน ซึ่งพนักงานสอบสวนได้รับคำร้องทุกข์ไว้ตามคดีอาญาที่ ๑๓๐/๒๕๕๗ ดังนั้นพนักงานสอบสวนจึงได้แจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมให้ผู้ต้องหาทราบเพิ่มเติมอีกว่ากระทำผิดฐาน ร่วมกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปบุกรุกในเวลากลางคืน
และได้แจ้งสิทธิของผู้ต้องหาให้ผู้ต้องหาทุกนายได้รับทราบ
เหตุเกิดที่ กระทรวงพลังงาน และบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
เมื่อระหว่างวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๕๗ เวลากลางวัน ถึงวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ เวลา ๐๘.๐๐ น.