เมื่อเวลา 14.00 น.วันที่ 17 ธ.ค. พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการคดีพิเศษ(กคพ.) นายชัยเกษม นิติสิริ รมว.ยุติธรรม ในฐานะรองประธาน กคพ.พร้อมด้วยคณะกรรมการคดีพิเศษ ร่วมประชุมเพื่อพิจารณารับคดีอาญาเป็นคดีพิเศษโดยมีนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ เป็นเลขานุการ กคพ.ประมวลเรื่องเข้าสู่การพิจารณา หลังการประชุมประมาณ 2 ช.ม.ที่ชุมมีมติรับคดีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการกลุ่ม กปปส.พร้อมพวก ที่เกิดในช่วงการชุมนุมเป็นคดีพิเศษ
นายธาริต แถลงภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุม กคพ.มีมติรับกรณีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ พร้อมพวก ถูกกล่าวหาว่าได้กระทำความผิดทางอาญา สืบเนื่องจากการชุมนุมทางการเมืองในพื้นที่ กทม.และบางจังหวัดตั้งแต่วันที่ ส.ค.เป็นต้นมา และความผิดที่เกี่ยวเนื่องเกี่ยวพัน โดยมีมติให้พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ดีเอสไอ พนักงานอัยการ และพนักงานสอบสวนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ(สตช.) ร่วมสอบสวนด้วยความโปร่งใส ให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย เนื่องจากเป็นคดีที่มีซับซ้อนต้องใช้ พ.ร.บ.สอบสวนคดีพิเศษ บูรณาการร่วมกัน 3 ฝ่าย เพื่อประสิทธิภาพและความเป็นธรรม
“ผมยืนยันว่าการพิจารณาของคณะกรรมการ กคพ.เป็นไปตามข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย เพราะการสอบสวนของตำรวจได้พบความผิดเกิดขึ้นก่อนหน้านี้จนกระทั่งศาลอาญาออกหมายจับในคดีกบฎ เบื้องต้นตำรวจได้รับคดีเกี่ยวกับ กปปส.ไว้ 60 คดี แต่พิจารณาว่าจะรับเป็นคดีพิเศษมีเพียง 20 คดี โดยมีฐานความผิดในคดีหลัก ประกอบด้วย มาตรา 113 มาตรา 114 มาตรา 116 มาตรา 117 มาตรา 210 และมาตรา 215 ประมวลกฎหมายอาญา”นายธาริตกล่าว
นายธาริตกล่าวอีกว่า ดีเอสไอสามารถดำเนินคดีได้ทั้งหมดในคดีเกี่ยวเนื่องเกี่ยวพันในภาพรวมรวม ทั้งกลุ่มท่อน้ำเลี้ยงสนับสนุน ส่วนที่เหลือเป็นคดีเล็กน้อยพกพาอาวุธมีดหรือทำร้ายร่างกายกัน ส่วนแนวทางการสอบสวนตนจะเรียกประชุมคณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ คดีดังกล่าวเป็นนัดแรกในเวลา 14.00 น.วันที่ 18 ธ.ค.56 โดยจะมีการพิจารณาออกหมายเรียกแกนนำคนอื่นๆ ด้วย และกลุ่มท่อน้ำเลี้ยง การตรวจสอบบัญชีและการอายัดบัญชี ตนจะแถลงแนวทางการดำเนินคดีหลังการประชุม
ส่วนคดีที่กบฏที่ศาลอาญาออกหมายจับนายสุเทพ ไว้ เมื่อ กคพ.ลงมติเป็นคดีพิเศษ หมายจับคดีกังกล่าวจะอยู่ในความรับผิดชอบของดีเอสไอและพนักงานสอบสวนจาก สตช.ส่วนแนวทางการนำตัวนายสุเทพ มาดำเนินคดีตามหมายจับยังเร็วเกินไปที่จะตอบว่าจะออกไปจับกุมภายนอก หรือจะเรียกมารับทราบข้อกล่าวหา ต้องหารือกับพนักงานสอบสวนก่อน
มีรายงานว่า สำหรับคดีที่ดีเอสไอได้รับไว้เป็นคดีพิเศษ เพื่อดำเนินคดีกับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ พร้อมพวก ประกอบด้วยข้อหาสำคัญ 6 ข้อหาคือ
1.ความผิดตามมาตรา 113 ผู้ใดใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อ(1) ล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ (2) ล้มล้างอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร หรืออำนาจตุลาการแห่งรัฐธรรมนูญหรือให้ใช้อำนาจดังกล่าวแล้วไม่ได้ หรือ (3) แบ่งแยกราชอาณาจักรหรือยึดอำนาจปกครองในส่วนหนึ่งส่วนใดแห่งราชอาณาจักร ผู้นั้นกระทำความผิดฐานเป็นกบฏ ต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต
2.ความผิดตามมาตรา 114 ผู้ใดสะสมกำลังพลหรืออาวุธ ตระเตรียมการอื่นใดหรือสมคบกัน เพื่อเป็นกบฏ หรือกระทำความผิดใด ๆ อันเป็นส่วนของ แผนการ เพื่อเป็นกบฏ หรือยุยงราษฎรให้เป็นกบฎหรือรู้ว่ามีผู้จะเป็น กบฎแล้วกระทำการใดอันเป็นการช่วยปกปิดไว้ ต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี
3.ความผิดตามมาตรา 116 ผู้ใดกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใดอันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต (1) เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดินหรือรัฐบาล โดยใช้กำลังข่มขืนใจหรือใช้กำลังประทุษร้าย (2) เพื่อให้เกิดความปั่นป่วน หรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน ถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร หรือ (3) เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี
4.ความผิดตามมาตรา 117 ผู้ใดยุยงหรือจัดให้เกิดการร่วมกันหยุดงาน การร่วม กันปิดงานงดจ้าง หรือการร่วมกันไม่ยอมค้าขายหรือติดต่อทางธุรกิจ กับบุคคลใด ๆ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดิน เพื่อ บังคับรัฐบาลหรือเพื่อข่มขู่ประชาชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
5.ความผิดตามมาตรา 210 ผู้ใดสมคบกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิด อย่างหนึ่งอย่างใดตามที่บัญญัติไว้ในภาค 2 นี้ และความผิดนั้นมี กำหนดโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป ผู้นั้นกระทำความผิดฐาน เป็นซ่องโจร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่น บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าเป็นการสมคบเพื่อกระทำความผิดที่มีระวางโทษถึงประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิตหรือจำคุกอย่างสูงตั้งแต่สิบปีขึ้นไป ผู้กระทำต้องระวาง โทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สี่พันบาทถึงสองหมื่นบาท
6.ความผิดตามมาตรา 215 ผู้ใดมั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายหรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิด การวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือ ปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หรือเป็นผู้มีหน้าที่สั่งการในการ กระทำความผิดนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
The Special Cases Committee headed by Deputy Prime Minister Pracha Promnok spent about two hours on Tuesday to consider the cases before it was decided to treat them as special cases.
The six cases will be jointly investigated by officials from the Department of Special Investigation, the Office of the Attorney-General and enquiry officers from the National Police Office to ensure transparency and fairness to all parties, especially the accused, said DSI chief Tarit Pengdit.
Tarit claimed that preliminary investigation by the police showed that Suthep and the rest of the leading members of the PDRC had committed criminal offences before the Criminal Court issued arrest warrants for them on insurrection charge.
He listed the offences allegedly committed and Suthep and associates as offences specified in articles 113, 114, 116,117, 210 and 215 of the Criminal Code. The offences include insurrection, intimidation, attempted overthrow of the constitution and separatism.
Tarit said that the DSI was empowered to investigate those responsible for providing logistic support for the protesters.
Asked when the DSI would arrest Suthep, he said that it was too soon to give the answer as the police enquiry officers must first be consulted with.